อย่าคิดว่าใครจะเป็นอย่างที่เราเป็น และคิดเหมือนที่เราคิด เพราะต่างมีเหตุปัจจัยอันต่างกัน อย่าเห็นใครอย่างที่คิดเอง แต่จงเห็นตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง เมื่อจิตตั่งมั่น ก็จะเห็นคนอื่นตามจริงได้ไม่ยาก อย่าคิดอะไรดีเกินไป เลวเกินไป แต่จงละอคติลงเสียทั้งหมด
บุคคลทั่วไป 3 คน ถ้าเอาบทนี้ มาให้เราเพื่อเป็น ม้าใช้ ก็ต้องอดทนหน่อยเด้อ ม้าส่งสาร ต้องการ นิ่ง ก่อนที่จะ วิ่ง เพราะ จิตใตสารถีเข้ายังไม่พร้อม จะฝึกเรา ... ม้าใช้ ทำไปด้าย ช่างคิดไปได้ แต่ก็นะ ทีมนี้แต่ละคนเขาก็มีความคิดแปลกๆ หลายคนอยู่แล้ว เขามีการตอบแทนความหวังดีของคนอื่น สุดคาดกันทั้งนั้น หรือว่าไม่สุดคาด ?? ;welcome2
ถ้าเอาบทนี้ มาให้เราเพื่อเป็น ม้าใช้ ก็ต้องอดทนหน่อยเด้อ ม้าส่งสาร ต้องการ นิ่ง ก่อนที่จะ วิ่ง เพราะ จิตใตสารถีเข้ายังไม่พร้อม จะฝึกเรา :)
ไม่ใช่จงใจกำหนด หรือจงใจทำให้สติเกิด แต่ตามรู้สบายๆ ไม่งั้นมันจะเกิดตัวคิดตัวบังคับไม่รู้ตัว เมื่อตามดู ไม่แทรก ก็มีสติ เห็นการทำงานของจิต เห็นจิตคิดธรรมดา หรือมีราคะ โทสะ โมหะ หากมีกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ เราก็เห็น เราก็ไม่หลงกลมัน ไม่ตามใจมัน เรื่องตามรู้โดยไม่ข่มไม่เพ่ง - กับเรื่องข่มกิเลสสู้กิเลส นี่มันคนละเรื่อง กิเลสต้องข่มต้องสู้ ต้องสู้อย่างไร ก็สู้ด้วยการทันมันเฉยๆ นี่แหละ เพราะการทันมัน ก็มีปัญญาไม่ถูกมันหลอก ก็จะชนะมันได้ อะไรที่เป็นอกุศลก็ต้องหมั่นละ อะไรที่เป็นกุศลก็ต้องหมั่นเจริญ จะได้เป็นพละ จิตตัวรู้หรือสตินี่ เขามีปัญญา ถ้ามีมากๆ เขาก็รู้ว่าอะไรควรไม่ควร แบบนั้นล่ะ ที่เรียกว่าสู้กับกิเลส เพราะไม่ตามใจมัน คนมีสติแก่ สมาธิแก่ นี่ เห็นกิเลส มันหยุดเร็ว หากยังสู้ไม่ไหว ก็ต้องหาวิธีบ้าง คือหาฐานสติให้เจริญต่อ เพื่อโยนิโสบ้าง เพื่อให้กำลังกิเลสมันลดลงบ้าง คือหากำลังให้ตัวเองด้วยฐานสี่ หรือหาวิธีต่อกรด้วยวิธีที่คิดว่าจะเอามันอยู่ให้ได้ ตัวสติเขาจะกำกับอีกที เพราะเขาเห็นจิตตัวที่ดีกับตัวที่ร้ายตลอด ตัวดีเขาส่งเสริม ตัวชั่วเขาก็จะไม่เข้าข้าง ต่างกับคนไม่มีสติ ที่จะตามใจจิตสังขารตัวที่ร้ายบ่อยจนมันครองใจ คนบางคนข่มอารมณ์ไว้แบบแค้นเคือง ไม่มีสติ ไม่ปรับปรุงการกระทำ ไม่ถือธรรมเป็นที่ตั้ง การกระทำก็จะแสดงออกมา เรียกว่าไม่สำเร็จเป้าหมาย ปรับปรุงตัวเองไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้ ปล่อยแบบไม่ถูก ก็บรรลุธรรมไม่ได้
หลวงพ่อปราโมทย์ http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?p=130357#post130357 เมื่อสติเกิดแล้ว สติทำหน้าที่อารักขา อารักขาหมายถึงหน้าที่คุ้มครองจิต สติจะเป็นผู้คุ้มครองจิต คุ้มครองของเขาเอง สติเกิดขึ้นเพราะว่าจิตจำสภาวะได้ พอจิตจำสภาวะได้ มีสติปุ๊บสติจะคุ้มครองจิต เช่น กำลังเผลอๆ อยู่ สติระลึกได้ว่าเมื่อกี้เผลอไปแล้ว จิตมันจะตื่นขึ้นมาปั๊บ ความเผลอจะดับไปทันที เกิดกุศลจิตแทน อกุศลจิตดับไปแล้ว สติมันจะรักษาจิตอย่างนี้เอง ทันทีที่ตัวมันเกิด อกุศลจะดับทันที กุศลจะเกิดขึ้นทันทีเลย นี่การอารักขาของเขา ไม่ใช่ไปนั่งเฝ้า อารักขาไม่ใช่เฝ้ายาม อารักขาคือทันทีที่สติดีดผางขึ้นมา อกุศลกระเด็นออกไปเลยนะ จิตใจจะไม่ตกไปสู่อารมณ์ที่ชั่ว พวกเราชอบอารักขาด้วยการนั่งเฝ้าแบบพวกแขกยามหรือทหารยาม ซึ่งยิ่งร้ายกว่าแขกยาม แขกยามยังมีหลับบ้าง ทหารยามยืนตัวแข็ง เหนื่อยจะตายไป ทำกรรมฐานอย่าทำแบบนั้น อย่าแบบนั่งเฝ้าไว้จนแข็งๆ ทื่อๆ รู้ไปเล่นๆ รู้ไปสบายๆ อะไรเกิดขึ้นแล้วก็คอยรู้เอา ที่ฝึกกันมาส่วนใหญ่จะพลาดตรงนี้แหละ คือท่านไม่ได้บอกให้ดักรู้ ท่านบอกให้ตามรู้ ดักรู้คือไปเฝ้าไว้รอดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น ส่วนตามรู้มันเกิดขึ้นก่อนแล้วก็ค่อยรู้ว่าอะไรเกิดขึ้น ไม่เหมือนกันนะ เพราะฉะนั้นจิตตานุปัสสนาแปลว่าการตามรู้จิต ปัสสนาแปลว่าการรู้ อนุแปลว่าตาม ตามรู้จิตเนืองๆ ตามรู้เวทนาเนืองๆ ตามรู้ร่างกายเนืองๆ ตามรู้นะ ไม่ใช่ไปจ้องเอาไว้
[IMG] 0<X<0 แล้ว X =? ถ้าเริ่ม 0 จบที่ 0 มันก็ 0 1<X<1 แล้ว X =? ถ้าเริ่มมี 1จบที่ 1 มันก็ 1 (นอกนั้นตัวใครตัวมันอ่ะ..^_^!) ........................................................... ขึ้นชื่อว่าความเพียร ....การปล่อย การข่ม การละ การพยายาม ...ย่อมมีย่อมผ่าน แต่จะ......กลับกลายเป็นตัวเดียวกัน...หรือเปล่า? อันนี้ต้องอยู่ที่ว่าประพฤติธรรมมาดีหรือเปล่า *** กาลเวลาพิสูจน์จิตดวงนั้น*** ***ผู้ประพฤติธรรม..ธรรมย่อมตามรักษา..ไม่ให้ตกไปสู่โลกที่ชั่ว***
ลองดูผลในกระทู้ดีกว่า...อ่ะ..^_^...ใครบัญญัติ.....ใครตีความ....ใคร....แล้วท้ายสุดแล้วเข้าใจอย่างเดียวกันหรือต่างกันอย่างไร? .......................... เริ่มที่ท่านก่อนก็ได้อ่ะ...^_^..... ไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะความเป็นอนัตตา ? <<<<ไม่ได้เพราะอะไร .....